วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้าวเกรียบปากหม้อนครพนม

ตลาดอินโดจีนนครพนม

ถนนคนเดินนครพนม(walking street nakhon phanom)

ร้านอาหารแนะนำจังหวัดนครพนม

ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดนตรีพื้นเมือง

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอท่าอุเทน อำเภอนาหว้า ทำการผลิตแคนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ ตำบลนาหว้า ผลิตทุกวันเป็นอาชีพ และที่บ้านพนอม อำเภอท่าอุเทน

ผลิตภัณฑ์ประเภทงานตีเหล็ก

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอธาตุพนม ที่บ้านนาถ่อนทุ่ง ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม โดยผลิตมีดโต้ขวาน เสียม จอบ เป็นต้น จะทำการผลิตเฉพาะในฤดูแล้ง

ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา

แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอท่าอุเทน ผลิตสินค้าจำพวกครก ไหบรรจุน้ำขนาดต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องจักสาน

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอปลาปาก อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม โดยผลิตสินค้าจำพวกกระติ๊บข้าว กระด้ง เสื่อเตย ทำการผลิตตลอดปีพร้อมกับการทำนา หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงได้แก่ บ้านชะโงม และบ้านนาคอกควาย อำเภอเมือง

ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าฝ้ายและไหม

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม อำเภอศรีสงคราม และอำเภอนาหว้า โดยทำการ ผลิตผ้าซิ่นไหม ผ้าฝ้ายมัดหมี่ จะทอกันเฉพาะในฤดูแล้ง สำหรับหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงได้แก่ บ้านหนองย่างชิ้น ตำบลหนองย่างชิ้น อำเภอเรณูนคร

นครพนม สถานที่ท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีเทพ)

วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีเทพ)

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ถนนศรีเทพ มีพระอุโบสถและจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม และยัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสงซึ่งมีตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพรอมกับพระสุก และหลวงพ่อพระใส(วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) นอกจากพระแสง จะเป็นที่เคารพสักการะแล้ว ชาวนครพนมยังเคารพนับถือรูปปั้นหลวงปู่จันทร์ (พระเทพสิทธาจารย์) อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง รูปหนึ่งของภาคอีสาน

วัดนักบุญอันนา หนองแสง

วัดนักบุญอันนา หนองแสง

ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม คุณพ่อเอดัวร์ นำราภ อธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนา หนองแสง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 วัดนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนานาชาติที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่และเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าชมยิ่ง

น้ำตกตาดโพธิ์

น้ำตกตาดโพธิ์

กำเนิดจากเทือกเขาภูลังกา อยู่ใกล้กับน้ำตกตาดขาม ห่างกันประมาณ 5 กม. มีลักษณะสวยงามไม่น้อยกว่ากัน โดยเฉพาะในฤดูฝนสามารถมองเห็นน้ำตกนี้ได้จากทางหลวงแผ่นดินที่เลียบแม่น้ำโขง การเดินทางอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแพงประมาณ 11 กม. รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปถึงตัวน้ำตกได้ต้องเดินขึ้นไปประมาณชั่วโมงเศษ สองข้างทางร่มรื่นเหมาะแก่การชมความงามของธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง

วนอุทยานน้ำตกตาดขาม





วนอุทยานน้ำตกตาดขาม

ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปภูลังกา ต้นลำธารเกิดจากเทือกเขาภูลังกา ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ลำธารนี้ไหลมาบรรจบกันเกิดเป็นลำห้วยขาม เป็นน้ำตกไหลหลั่นลงมาถึง 4 ชั้น สภาพโดยรอบบริเวณร่มรื่นเหมาะแก่การไปท่องเที่ยวและพักผ่อน

อุทยานแห่งชาติภูลังกา


อุทยานแห่งชาติภูลังกา

อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอบ้านแพง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 6 กม. การเดินทางจาก ตัวจังหวัดใช้เส้นทางสายนครพนม-บ้านแพง ทางหลวงสาย 212 ระยะทางประมาณ 92 กม. ทางลาดยางตลอด ภูลังกาเป็นต้นกำเนิดของน้ำตก และลำธารใหญ่น้อยหลายสาย เป็นแหล่งอุดม สมบูรณ์ของดอกไม้ กล้วยไม้ และพรรณไม้นานาชนิด

พระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก, นครพนม

พระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก, นครพนม

ประดิษฐาน ณ วัดโฆษดาราม ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กม. ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กม. ถนนคอนกรีตถึงบริเวณวัดพระธาตุมหาชัย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถวัดโฆษดารามนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อันเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดโฆษดารามนี้ยังเป็นที่ จำพรรษาของท่านพระครูสุนทรธรรมโฆษิต (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สาย วิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

พระ ธาตุประสิทธิ์, นครพนม

พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน นครพนม

พระธาตุเรณู เรณูนคร นครพนม

เรณูนคร, นครพนม



อยู่ห่างจากพระธาตุพนม 15 กม. และห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ 51 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 212 ถึงประมาณกม.ที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7 กม. ทางลาดยางตลอด เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย
นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุ เรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า "ฟ้อนละครไทย" เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานในงานเทศกาลเดือนห้าและเดือนหก ซึ่งจะมีประเพณี บุญบ้องไฟและมีการเฉลิมฉลองเพื่อนมัสการองค์พระธาตุเรณู ในการฟ้อนรำสมัยก่อนนั้น เป็นการฟ้อนรำตามความถนัดและความสามารถ ความชำนาญของแต่ละบุคคล ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียงกัน แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนรำต่างๆ ที่แสดงออกมา ส่วนมากเป็นผู้ชายล้วนๆ จับกลุ่มฟ้อนรำกันเพื่ออวดสาวๆ ปัจจุบันเป็นการฟ้อนรำของหญิงชายคู่กัน โดยยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก นับเป็นศิลปะที่สวยงามละเอียดอ่อนหาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
การฟ้อนผู้ไทยและการเลี้ยงอาหารแบบพาแลงนี้ สามารถติดต่อสอบถามขอทราบรายละเอียดได้ที่
  • ส่วนราชการต่างๆ ภายในที่ว่าการอำเภอเรณูนครโทร. (042) 579021
  • ชมรมชาวผู้ไทยเรณูนคร โดยคุณชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ โทร. (042) 579174
  • วัดพระธาตุเรณูนคร และ โรงเรียนต่างๆ ในอำเภอเรณูนคร

พระธาตุท่าอุเทน, นครพนม


พระธาตุท่าอุเทน, นครพนม
พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม สูง 33 วา จำลองแบบมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า เรือนธาตุมีสองชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นมีซุ้มประตูหลอกทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มประตูมีทับหลังเป็นปูนปั้นลายดอกบัวบาน รูปบุคคล และสัตว์ต่าง ๆ โดยมีลายพรรณพฤกษาเป็นพื้นหลัง ตามกรอบซุ้มประตูบนเรือนธาตุก็มีลายพรรณพฤกษาประดับอยู่เช่นกันภายในองค์ธาตุเป็นอุโมงค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระอาจารย์สีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นอก จากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำและของมีค่าอื่น ๆ ที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย บรรจุไว้ในองค์ธาตุด้วยบนกำแพงแก้วรอบองค์ธาตุมีประติมากรรมปูนปั้นฝีมือของพระอาจารย์สีทัตถ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุภาษิตคำพังเพยพื้นบ้าน ตลอดจนการจำลองนรก-สวรรค์
เป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญของชาวนครพนมอีกแห่งหนึ่ง องค์พระธาตุมีลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า พระธาตุท่าอุเทนเป็นพระธาตุประจำวันศุกร์
 



พระธาตุประสิทธิ์, นครพนม

ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 98 กม. เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องที่ใกล้เคียงเคารพนับถือมาก การเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอท่าอุเทนถึงบ้านนาขมิ้น จนถึงทางหลวงหมายเลข 2032 แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม ระยะทางประมาณ 72 กม.
 

พระธาตุประสิทธิ์, นครพนม