วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

ข้าวเกรียบปากหม้อนครพนม

ตลาดอินโดจีนนครพนม

ถนนคนเดินนครพนม(walking street nakhon phanom)

ร้านอาหารแนะนำจังหวัดนครพนม

ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดนตรีพื้นเมือง

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอท่าอุเทน อำเภอนาหว้า ทำการผลิตแคนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ ตำบลนาหว้า ผลิตทุกวันเป็นอาชีพ และที่บ้านพนอม อำเภอท่าอุเทน

ผลิตภัณฑ์ประเภทงานตีเหล็ก

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอธาตุพนม ที่บ้านนาถ่อนทุ่ง ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม โดยผลิตมีดโต้ขวาน เสียม จอบ เป็นต้น จะทำการผลิตเฉพาะในฤดูแล้ง

ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องปั้นดินเผา

แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอท่าอุเทน ผลิตสินค้าจำพวกครก ไหบรรจุน้ำขนาดต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องจักสาน

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอปลาปาก อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม โดยผลิตสินค้าจำพวกกระติ๊บข้าว กระด้ง เสื่อเตย ทำการผลิตตลอดปีพร้อมกับการทำนา หมู่บ้านที่มีชื่อเสียงได้แก่ บ้านชะโงม และบ้านนาคอกควาย อำเภอเมือง

ผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าฝ้ายและไหม

แหล่งผลิตอยู่ในอำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม อำเภอศรีสงคราม และอำเภอนาหว้า โดยทำการ ผลิตผ้าซิ่นไหม ผ้าฝ้ายมัดหมี่ จะทอกันเฉพาะในฤดูแล้ง สำหรับหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงได้แก่ บ้านหนองย่างชิ้น ตำบลหนองย่างชิ้น อำเภอเรณูนคร

นครพนม สถานที่ท่องเที่ยว

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ตื้อ วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า ศรีสงคราม นครพนม

วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีเทพ)

วัดศรีเทพประดิษฐาราม (วัดศรีเทพ)

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ถนนศรีเทพ มีพระอุโบสถและจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม และยัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสงซึ่งมีตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพรอมกับพระสุก และหลวงพ่อพระใส(วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) นอกจากพระแสง จะเป็นที่เคารพสักการะแล้ว ชาวนครพนมยังเคารพนับถือรูปปั้นหลวงปู่จันทร์ (พระเทพสิทธาจารย์) อดีตพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง รูปหนึ่งของภาคอีสาน

วัดนักบุญอันนา หนองแสง

วัดนักบุญอันนา หนองแสง

ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม คุณพ่อเอดัวร์ นำราภ อธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนา หนองแสง สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 วัดนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนานาชาติที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่และเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าชมยิ่ง

น้ำตกตาดโพธิ์

น้ำตกตาดโพธิ์

กำเนิดจากเทือกเขาภูลังกา อยู่ใกล้กับน้ำตกตาดขาม ห่างกันประมาณ 5 กม. มีลักษณะสวยงามไม่น้อยกว่ากัน โดยเฉพาะในฤดูฝนสามารถมองเห็นน้ำตกนี้ได้จากทางหลวงแผ่นดินที่เลียบแม่น้ำโขง การเดินทางอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านแพงประมาณ 11 กม. รถยนต์ไม่สามารถเข้าไปถึงตัวน้ำตกได้ต้องเดินขึ้นไปประมาณชั่วโมงเศษ สองข้างทางร่มรื่นเหมาะแก่การชมความงามของธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง

วนอุทยานน้ำตกตาดขาม





วนอุทยานน้ำตกตาดขาม

ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปภูลังกา ต้นลำธารเกิดจากเทือกเขาภูลังกา ซึ่งเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ลำธารนี้ไหลมาบรรจบกันเกิดเป็นลำห้วยขาม เป็นน้ำตกไหลหลั่นลงมาถึง 4 ชั้น สภาพโดยรอบบริเวณร่มรื่นเหมาะแก่การไปท่องเที่ยวและพักผ่อน

อุทยานแห่งชาติภูลังกา


อุทยานแห่งชาติภูลังกา

อยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอบ้านแพง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 6 กม. การเดินทางจาก ตัวจังหวัดใช้เส้นทางสายนครพนม-บ้านแพง ทางหลวงสาย 212 ระยะทางประมาณ 92 กม. ทางลาดยางตลอด ภูลังกาเป็นต้นกำเนิดของน้ำตก และลำธารใหญ่น้อยหลายสาย เป็นแหล่งอุดม สมบูรณ์ของดอกไม้ กล้วยไม้ และพรรณไม้นานาชนิด

พระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก, นครพนม

พระธาตุมหาชัย อำเภอปลาปาก, นครพนม

ประดิษฐาน ณ วัดโฆษดาราม ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 39 กม. ตามเส้นทางนครพนม-สกลนคร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2276 เข้าวัดอีก 1.8 กม. ถนนคอนกรีตถึงบริเวณวัดพระธาตุมหาชัย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันต์สารีริกธาตุ ภายในพระอุโบสถวัดโฆษดารามนอกจากพระประธานคือ พระพุทธไชยสิทธิ์แล้วยังมีพระพุทธรูปสลักจากไม้ต้นสะเดาหวานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และภาพเขียนบนฝาผนังอุโบสถแสดงพุทธประวัติ มีลวดลายศิลปกรรมที่งดงามมากในภาคอีสาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่พระธาตุมหาชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 อันเป็นวันวิสาขบูชา และที่วัดโฆษดารามนี้ยังเป็นที่ จำพรรษาของท่านพระครูสุนทรธรรมโฆษิต (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) พระเกจิอาจารย์สาย วิปัสนาที่สำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมและชาวอีสานทั่วไป

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

พระ ธาตุประสิทธิ์, นครพนม

พระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน นครพนม

พระธาตุเรณู เรณูนคร นครพนม

เรณูนคร, นครพนม



อยู่ห่างจากพระธาตุพนม 15 กม. และห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้ 51 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 212 ถึงประมาณกม.ที่ 44 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2031 อีกประมาณ 7 กม. ทางลาดยางตลอด เรณูนครเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย
นอกจากนี้ยังมีร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกต่างๆไว้บริการนักท่องเที่ยวและประชาชนจากจังหวัดใกล้เคียงอีกมากมาย โดยเฉพาะบริเวณวัดพระธาตุ เรณูนคร และตลาดอำเภอเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทยนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมืองอย่างหนึ่งของชาวผู้ไทยที่ได้รับการถ่ายทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน จากบรรพบุรุษของชาวเผ่าผู้ไทย ในสมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำแบบนี้ว่า "ฟ้อนละครไทย" เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยการจับกลุ่มเล่นฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานในงานเทศกาลเดือนห้าและเดือนหก ซึ่งจะมีประเพณี บุญบ้องไฟและมีการเฉลิมฉลองเพื่อนมัสการองค์พระธาตุเรณู ในการฟ้อนรำสมัยก่อนนั้น เป็นการฟ้อนรำตามความถนัดและความสามารถ ความชำนาญของแต่ละบุคคล ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียงกัน แต่เน้นลีลาท่าฟ้อนรำต่างๆ ที่แสดงออกมา ส่วนมากเป็นผู้ชายล้วนๆ จับกลุ่มฟ้อนรำกันเพื่ออวดสาวๆ ปัจจุบันเป็นการฟ้อนรำของหญิงชายคู่กัน โดยยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก นับเป็นศิลปะที่สวยงามละเอียดอ่อนหาดูได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
การฟ้อนผู้ไทยและการเลี้ยงอาหารแบบพาแลงนี้ สามารถติดต่อสอบถามขอทราบรายละเอียดได้ที่
  • ส่วนราชการต่างๆ ภายในที่ว่าการอำเภอเรณูนครโทร. (042) 579021
  • ชมรมชาวผู้ไทยเรณูนคร โดยคุณชัยบดินทร์ สาลีพันธ์ โทร. (042) 579174
  • วัดพระธาตุเรณูนคร และ โรงเรียนต่างๆ ในอำเภอเรณูนคร

พระธาตุท่าอุเทน, นครพนม


พระธาตุท่าอุเทน, นครพนม
พระธาตุมีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม สูง 33 วา จำลองแบบมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า เรือนธาตุมีสองชั้นลดหลั่นกันขึ้นไป แต่ละชั้นมีซุ้มประตูหลอกทั้งสี่ทิศ เหนือซุ้มประตูมีทับหลังเป็นปูนปั้นลายดอกบัวบาน รูปบุคคล และสัตว์ต่าง ๆ โดยมีลายพรรณพฤกษาเป็นพื้นหลัง ตามกรอบซุ้มประตูบนเรือนธาตุก็มีลายพรรณพฤกษาประดับอยู่เช่นกันภายในองค์ธาตุเป็นอุโมงค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระอาจารย์สีทัตถ์ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นอก จากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคำและของมีค่าอื่น ๆ ที่ผู้ศรัทธานำมาถวาย บรรจุไว้ในองค์ธาตุด้วยบนกำแพงแก้วรอบองค์ธาตุมีประติมากรรมปูนปั้นฝีมือของพระอาจารย์สีทัตถ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุภาษิตคำพังเพยพื้นบ้าน ตลอดจนการจำลองนรก-สวรรค์
เป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญของชาวนครพนมอีกแห่งหนึ่ง องค์พระธาตุมีลวดลายปูนปั้นที่สวยงาม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากพม่า พระธาตุท่าอุเทนเป็นพระธาตุประจำวันศุกร์
 



พระธาตุประสิทธิ์, นครพนม

ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระธาตุประสิทธิ์ หมู่ที่ 13 ตำบลนาหว้า อำเภอนาหว้า ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 98 กม. เป็นที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้า ประชาชนในท้องที่ใกล้เคียงเคารพนับถือมาก การเดินทางจากตัวเมืองนครพนมไปตามทางหลวงหมายเลข 212 ผ่านอำเภอท่าอุเทนถึงบ้านนาขมิ้น จนถึงทางหลวงหมายเลข 2032 แยกซ้ายมือเข้าอำเภอศรีสงคราม ระยะทางประมาณ 72 กม.
 

พระธาตุประสิทธิ์, นครพนม

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทศกาลประเพณี, นครพนม

เทศกาลประเพณี, นครพนม

งานนมัสการพระธาตุพนม

กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 10 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งงานหนึ่ง ของชาวนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง

งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม (เฮือไฟ)

จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ดาวดึงษ์เพื่อแสดง พระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า "วันพระเจ้าโปรดโลก" พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า "อจลเจดีย์" (อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี) ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับ เสด็จด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟก็คือการสักการะบูชาอย่างหนี่งในวันนั้น และได้ทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตำนานการไหลเรือไฟที่แตกต่างกันก็ถือว่าทำให้ได้รับอานิสงฆ์เหมือนกัน เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสวก่อนจะปล่อยเรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทำเรือไฟเป็นรูปแบบต่างๆ ที่ขนาดใหญ่โตขึ้น มีวิธีการประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟ เหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงจะเป็นภาพที่งดงามติดตาติดใจผู้พบเห็น ไปตราบนานเท่านาน ไม่มีที่ไหนๆ ในประเทศไทยจะยิ่งใหญ่เหมือนที่จังหวัดนครพนม

การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ)

เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษามีความมุ่งหมายให้ ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนชาวลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขง มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร มีร่องน้ำ ที่ไหลเชี่ยวยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง

ประเพณีแสกเต้นสาก

เป็นประเพณีของชนเผ่าแสกที่หมู่บ้านอาจสามารถ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมประมาณ 4 กม.ประเพณีแสกเต้นสากเป็นการเต้นบวงสรวงเจ้าที่จะเต้นการเป็นประจำทุกปี ในเดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ การเต้นสากนอกเทศกาลจะต้องทำพิธีขอขมาก่อน ของที่ใช้ ได้แก่ หัวหมู เงิน และเหล้า ซึ่งจะทำพิธี ที่ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านโดยการเสี่ยงทายไม้สี ถ้าได้สีเดียวกันแสดงว่าเจ้าไม่อนุญาต การเต้น"แสกเต้นสาก" ใช้ไม้สีแดงสลับขาวเรียก "สาก" นำด้วยเสียงกลองจังหวะเร็ว ผู้เต้นจะซอยเท้าถี่ๆ ลงไปตามจังหวะการกระทบไม้คล้ายการเต้นลาวกระทบไม้แต่จะเร็วกว่ามาก

โส้ทั้งปั้น เป็นประเพณีของพวกโซ่ (โส้)

การเต้นโส้ทั้งปั้นนี้เป็นการรำในงานศพเพื่อที่จะส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ การเต้นรำมีทั้งชาย และหญิง พวกโซ่เป็นชนเผ่าข่าพวกหนึ่ง ลักษณะผิวคล้ำ มีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาที่ใช้คล้ายภาษามอญปนเขมร หมู่บ้านชาวโส้นี้ตั้งอยู่ที่บ้านโพนจาน ตำบลโพนจาน นอกจากนี้ยังมีอยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาแก และอำเภอศรีสงคราม

พระธาตุศรีคุณ

พระธาตุศรีคุณ เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวนาแก ตั้งอยู่ในกลางอำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนมประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 223 ไป 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก เลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคุณ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุศรีคุณ มีลักษณะส่วนบนคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้นและชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม

หาดแห่

หาดแห่

หาดแห่เป็นเกาะกลางแม่น้ำโขง อยู่หมู่ที่ ๓ บ้านน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวิวที่สวยงามมีร้านอาหารที่ปรุงอาหารจากปลาแม่น้ำโขงสดๆ มีชายหาดที่มีหินกรวดทำให้น้ำใส น่าลงไปว่ายน้ำเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่หาดแห่ทุกๆปี มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นเรือนหมื่น เงินสะพัดหลายแสนบาท

วัดโพธิ์ศรี

วัดโพธิ์ศรี ตั้งอยู่ริมถนนสุนทรวิจิตร เลียบริมแม่น้ำโขง ภายในกุฎิเจ้าอาวาสเป็นที่ประดิษฐานพระทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัย และเป็นพระพุทธรูปโบราณสกุลช่างล้านช้าง ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น ในอดีตเคยทำพิธีสรงน้ำพระทองในวันสงกรานต์ แต่มักจะเกิดพายุและฝนตกหนักทุกครั้ง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นพระพุทธรูปองค์อื่นแทน ปัจจุบันทุกวันเพ็ญเดือนหกจะนิมนต์มาตั้งไว้ที่หน้าโบสถ์ให้ชาวบ้านมาสรงน้ำ และในวันออกพรรษาชาวบ้านห้อมจะมาทอดปราสาทผึ้งที่วัดนี้ทุกปี

วัดโพธิ์ศรี จังหวัดนครพนม

วิดีโองานประเพณีไหลเรือไฟ

ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เรือไฟ" นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุขนม ข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรม ทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท มูลเหตุของการไหลเรือไฟ
ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธ บาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของ บรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสานจะจัดในเทศกาลออกพรรษาของชาว จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะ จัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อ แสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะ ต่อพระยานาคที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้นโดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน เป็นต้น
"เรือไฟ" หรือ "เฮือไฟ" คือเรือที่ทำด้วยท่อนกล้วยและไม้ไผ่ตัวเรือยาวประมาณ20-30เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ซีกจัดทำโครง เป็นรูปเรือประดับด้วยไต้ หรือตะเกียงน้ำมันวางเรียงห่างกัน ประมาณ 1-2 คืบ ภายในเรือบรรจุไปด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และขนม ข้าวต้ม ฝ้าย ไหมและเครื่องไทยธรรมต่างๆ อีกมากมายที่พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาซื้อมาร่วมทำบุญ ครั้นพอตกค่ำบรรดาเจ้าของเรือจะจุดไต้ หรือตะเกียงให้สว่าง แล้วนำเรือของตนออกไปกลางแม่น้ำแล้วปล่อยให้เรือไหลไปตามแม่น้ำคล้ายกับการ ลอยกระทง และมีเรือของหนุ่มๆ สาวๆ ที่พากันตีกลองร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในเวลานั้นท้องน้ำก็จะสว่างไสว ไปด้วยไฟระยิบระยับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก

พิธีและกิจกรรม

ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟ ชาวคุ้มวัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วยต้นกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถลอยน้ำได้ ให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปเจดีย์ วิหาร หงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่าสวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีป โคมไฟอยู่ได้ทนทาน เมื่อถึงวันงาน ภาคกลางวันก็จะมีขบวนแห่ไหลเรือไฟบก ซึ่งนำขึ้นไปวางบนพาหนะล้อเลื่อนต่าง ๆ แล้วเข้าขบวนแห่แหนทุกคุ้มวัดพร้อมกัน

โดยมีการแสดงพื้นบ้านประกอบขบวนอย่างสนุกสนานสวยงาม ในขณะนั้นคณะกรรมการตัดสินก็จะให้คะแนนผู้ที่จัดส่งเรือไฟเข้าประกวดด้วย ขบวนแห่เรือไฟในภาคกลางคืน ก็จะมีการทำพิธีกรรมทางศาสนา เช่น กราบพระ รับศีล ฟังเทศน์ และการกล่าวบูชารอยพระพุทธบาท ต่อจากนั้นจึงนำเรือไฟไปลงน้ำ และเริ่มจุดประทีปโคมไฟแล้วปล่อยให้ล่องไปตามแม่น้ำโขงลงไปทางทิศใต้

วัดภูพานอุดมธรรม ลานหินดานสาวคอย

ดานสาวคอย จังหวัดนครพนม




ดานสาวคอย อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม หรือจะเรียกว่า "ลานหินดานสาวคอย"

ความเป็นมา
มีตำนานเล่าขานกันว่าสมัยก่อน มีสาวงามนัดพบกับคนรักหนุ่มที่แห่งนี้ แต่ชายหนุ่มถูกพ่อของสาวงามฆ่าตายเสียก่อน วิญญาณของสาวงามนั้น จึงวนเวีนยอยู่ที่ ณ ที่แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า "ลานสาวคอย" ตั้งอยู่บนเทือก เขาพูพานมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินราบเรียบพบต้นไม้เบญจพรรณ ที่ขึ้นอยู่ประปรายนักท่องเที่ยวหลายท่านที่ขึ้นไปบนลานหินแล้วสามารถมอง เห็นยอดพระธาตุพนมได้อย่างชัดเจน




กระทั่งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2528 ก็มีการประดิษฐาน "พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร" อันเป็นสัญลักษณ์ของการยุติการสู้รบเพื่อนำความสงบสุขมาสู่ดินแดนแห่งนี้ ต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็น "วัดดานสาวคอยวนาราม" เมื่อปี พ.ศ.2546 และจากนั้นในปี พ.ศ.2547ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า "วัดภูพานอุดมธรรม" พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้เชิญตราสัญลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบมาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์องค์พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร ตั้งอยู่บริเวณวัดภูพานอุดมธรรม (หรือชื่อเก่าวัดภูพานลานสาวคอยวนาราม) บนเทือกเขาภูพาน บ.ลานสาวคอย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม แหล่งท่องเที่ยวนครพนม

วัฒนธรรมประเพณีชาวนครพนม


การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต


บายศรีสู่ขวัญ
เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว 


พิธีเหยา
พิธีเหยาใหญ่หรือไหว้ครูหมอเหยาใหญ่ เป็นพิธีกรรมที่สำคัญพิธีหนึ่งของชาวกะเลิง ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล
         

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิดีโอ ของฝากอำเภอธาตุ

ของฝาก




กาละแมทูลใจ เป็นขนมหวานของไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิม มีลักษณะเป็นขนมก้อน สีดำเหนียวนุ่ม หวานมัน รสชาติอร่อย ห่อใบตองรีดด้วยเตาถ่านแบบโบราณ กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่อันเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกาละแมธาตุพนม และเป็นขนมของฝากที่ขึ้นชื่อจากอำเภอธาตุพนมมาช้านาน
กาละแมทูลใจ เป็นกาละแมที่ผลิตเป็นเจ้าแรก ๆ ของอำเภอธาตุพนมสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษโดยคุณยายไพฑูรย์ คำป้อง อายุ 72 ปี ได้ผลิตกาละแมในนามกาละแมทูลใจ ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน กว่า 50 ปี แล้วที่กาละแมทูลใจยังคงไว้ซึ่งรสชาติความอร่อย เหนียวนุ่ม หวานมัน สะอาด ถูกหลักอนามัย จน อย. รับรองคุณภาพและเป็นของกินของฝากจากธาตุพนมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้กาละแมทูลใจยังช่วยสร้างชื่อ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จาก
1. เป็นขนมของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวธาตุพนม
2. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยได้จำหน่ายใบตองสด
3. กลุ่มผู้รีดใบตองสำหรับทำกาละแมมีอาชีพมีรายได้
4. กลุ่มผู้จำหน่ายไม้กลัดมีอาชีพมีรายได้จากการจำหน่ายไม้กลัด
5. แรงงานในชุมชนที่ใช้ในการกวนและการห่อหมกมีงานทำมีรายได้
6. กลุ่มผู้จักสานงานไม้ไผ่ (ชะลอม) มีรายได้ในการทำบรรจุภัณฑ์
7. ผู้จำหน่ายและผู้รับไปจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขึ้น

ดังนั้น กาละแมทูลใจจึงเป็นขนมของฝากที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ชาวธาตุพนมแล้วยังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างดี





จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
1. เป็นขนมที่มีสีดำ เหนียวนุ่ม รสชาติหอม หวาน มัน
2. ห่อหมกด้วยใบตองรีดจากเตารีดถ่าน กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่เล็ก ๆ ๆ
3. เป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาไทยของบรรจุภัณฑ์จากไม้จักรสานด้วยความปราณีต โดยนำมาประยุกต์ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
4. มีการสอดแทรก "ผญา มูนมังทางภูมิปัญญาของชาวอีสาน ในบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นคติเตือนใจในการดำรงชีวิตประจำวัน
5. ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) อย 48-2-00646-2-0001
ปริมาณการผลิตและราคา
ผลิตครั้งละ 15 กิโลกรัม/1 กระทะ
มีปริมาณการจำหน่ายกิโลกรัมละ 200 บาท
ขนาดน้ำหนัก 250 กรัม ราคา 50 บาท
ขนาดนำหนัก 500 กรัม ราคา 100 บาท

สถานที่จัดจำหน่าย 1. ร้านทูลใจ 49 หมู่ 14 ถนนพนมพนารักษ์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โทร. 0-4254-1220 , 0-1799-0091
2. ร้านดอกไม้โอเล่ 23/45 หมู่ 10 ถนนชยางกูร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โทร. 0-4252-5248, 0-9940-5816
3. ร้านหมูยอดาวทอง หมู่ 1 ถนนกุศลรัษฏากร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
4. หน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
5. ร้านพรเทพของฝาก หน้าโรงแรมศรีเทพ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
6. ร้านหมูยอเลิศรส อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
7. ร้านขายของฝาก สถานีขนส่ง จังหวัดนครพนม
8. ร้านศรีโคตรบูร อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

ที่เที่ยว กับของฝาก

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิดีโอ ที่เที่ยวพระธาตุพนม

พระธาตุพนม




นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “มรุกขนคร” หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรมเมื่อ พ.ศ. 500 นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. 1800 เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. 2057 ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย ต่อมา พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ 52 กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2333 เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร  โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ นครพนม” ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “ นคร” ส่วนคำว่า “พนม” ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า “พนม” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “นคร” ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา” นั่นเองจังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และกิ่งอำเภอวังยาง