เทศกาลประเพณี, นครพนม
งานนมัสการพระธาตุพนม
กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 10 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งงานหนึ่ง ของชาวนครพนมและจังหวัดใกล้เคียง
งานประเพณีไหลเรือไฟนครพนม (เฮือไฟ)
จัดขึ้นในวันออกพรรษา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจากเทวโลก หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ดาวดึงษ์เพื่อแสดง พระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก โดยบันไดทิพย์ทั้ง 3 วันนี้เรียกว่า "วันพระเจ้าโปรดโลก" พระองค์เสด็จมา ณ เมืองสังกัสสะ สถานที่นั้นเรียกว่า "อจลเจดีย์" (อ่านว่า อะ-จะ-ละ-เจ-ดี) ทวยเทพทั้งหลายส่งเสด็จ มวลมนุษย์ทั้งหลายรับ เสด็จด้วยเครื่องสักการะบูชามโหฬาร การไหลเรือไฟก็คือการสักการะบูชาอย่างหนี่งในวันนั้น และได้ทำเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากนี้ยังมีตำนานการไหลเรือไฟที่แตกต่างกันก็ถือว่าทำให้ได้รับอานิสงฆ์เหมือนกัน เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุไว้ด้วยขนม ข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการจะบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสวก่อนจะปล่อยเรือไฟ ปัจจุบันมีการจัดทำเรือไฟเป็นรูปแบบต่างๆ ที่ขนาดใหญ่โตขึ้น มีวิธีการประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟ เหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วงจะเป็นภาพที่งดงามติดตาติดใจผู้พบเห็น ไปตราบนานเท่านาน ไม่มีที่ไหนๆ ในประเทศไทยจะยิ่งใหญ่เหมือนที่จังหวัดนครพนม
การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ)
เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษามีความมุ่งหมายให้ ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนชาวลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขง มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร มีร่องน้ำ ที่ไหลเชี่ยวยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง
ประเพณีแสกเต้นสาก
เป็นประเพณีของชนเผ่าแสกที่หมู่บ้านอาจสามารถ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมประมาณ 4 กม.ประเพณีแสกเต้นสากเป็นการเต้นบวงสรวงเจ้าที่จะเต้นการเป็นประจำทุกปี ในเดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ การเต้นสากนอกเทศกาลจะต้องทำพิธีขอขมาก่อน ของที่ใช้ ได้แก่ หัวหมู เงิน และเหล้า ซึ่งจะทำพิธี ที่ศาลเจ้าประจำหมู่บ้านโดยการเสี่ยงทายไม้สี ถ้าได้สีเดียวกันแสดงว่าเจ้าไม่อนุญาต การเต้น"แสกเต้นสาก" ใช้ไม้สีแดงสลับขาวเรียก "สาก" นำด้วยเสียงกลองจังหวะเร็ว ผู้เต้นจะซอยเท้าถี่ๆ ลงไปตามจังหวะการกระทบไม้คล้ายการเต้นลาวกระทบไม้แต่จะเร็วกว่ามาก
โส้ทั้งปั้น เป็นประเพณีของพวกโซ่ (โส้)
การเต้นโส้ทั้งปั้นนี้เป็นการรำในงานศพเพื่อที่จะส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ การเต้นรำมีทั้งชาย และหญิง พวกโซ่เป็นชนเผ่าข่าพวกหนึ่ง ลักษณะผิวคล้ำ มีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาที่ใช้คล้ายภาษามอญปนเขมร หมู่บ้านชาวโส้นี้ตั้งอยู่ที่บ้านโพนจาน ตำบลโพนจาน นอกจากนี้ยังมีอยู่ที่อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาแก และอำเภอศรีสงคราม
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
พระธาตุศรีคุณ
พระธาตุศรีคุณ เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวนาแก ตั้งอยู่ในกลางอำเภอนาแก ห่างจากอำเภอธาตุพนมประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงสาย 223 ไป 20 กิโลเมตร ถึงอำเภอนาแก เลี้ยวซ้ายถึงวัดพระธาตุศรีคุณ ซึ่งเป็นที่ตั้งพระธาตุศรีคุณ มีลักษณะส่วนบนคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันตรงที่ชั้นที่ 1 มี 2 ตอนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้นและชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระธาตุพนม
หาดแห่
หาดแห่เป็นเกาะกลางแม่น้ำโขง อยู่หมู่ที่ ๓ บ้านน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีวิวที่สวยงามมีร้านอาหารที่ปรุงอาหารจากปลาแม่น้ำโขงสดๆ มีชายหาดที่มีหินกรวดทำให้น้ำใส น่าลงไปว่ายน้ำเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่หาดแห่ทุกๆปี มีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นเรือนหมื่น เงินสะพัดหลายแสนบาท
วัดโพธิ์ศรี
วัดโพธิ์ศรี ตั้งอยู่ริมถนนสุนทรวิจิตร เลียบริมแม่น้ำโขง ภายในกุฎิเจ้าอาวาสเป็นที่ประดิษฐานพระทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัย และเป็นพระพุทธรูปโบราณสกุลช่างล้านช้าง ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น ในอดีตเคยทำพิธีสรงน้ำพระทองในวันสงกรานต์ แต่มักจะเกิดพายุและฝนตกหนักทุกครั้ง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นพระพุทธรูปองค์อื่นแทน ปัจจุบันทุกวันเพ็ญเดือนหกจะนิมนต์มาตั้งไว้ที่หน้าโบสถ์ให้ชาวบ้านมาสรงน้ำ และในวันออกพรรษาชาวบ้านห้อมจะมาทอดปราสาทผึ้งที่วัดนี้ทุกปี
ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติใน เทศกาลออกพรรษาทำกันในวันขึ้น 15 คํ่า หรือ แรม 1 คํ่า เดือน 11 ตามแม่นํ้าลำคลอง "เรือไฟ"หรือภาษาถิ่นเรียกว่า "เรือไฟ" นี้เป็นเรือที่ทำด้วยต้นกล้วย ท่อนกล้วยหรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือยาวประมาณ 5-6 วา ข้างในบรรจุขนม ข้าวต้มผัดหรือสี่ง ที่ต้องการบริจาคทาน ข้างนอกเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อน จะปล่อยเรือไฟซึ่งเรียกว่า "การไหลเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเฮือไฟ" พิธีและกิจกรรม ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟชาวคุ้ม วัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วย ต้นกล้วยไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีรูปร่างลักษณะ เหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปหงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่า สวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อ ความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีปโคมไฟอยู่ได้ ทนทาน เมื่อถึงวันงานก็จะมีขบวนสนุกสนานสวย งามด้วย ตอนกลางคืนจะมีการไหลเรือไฟจะสุดอยู่ที่แม่น้ำโขงทางทิศใต้มีการทำพิธีกรรม ทางศาสนา การ กล่าวคำบูชารอยพระพุทธบาท มูลเหตุของการไหลเรือไฟ
ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธ บาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของ บรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสานจะจัดในเทศกาลออกพรรษาของชาว จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะ จัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อ แสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะ ต่อพระยานาคที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้นโดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน เป็นต้น
"เรือไฟ" หรือ "เฮือไฟ" คือเรือที่ทำด้วยท่อนกล้วยและไม้ไผ่ตัวเรือยาวประมาณ20-30เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ซีกจัดทำโครง เป็นรูปเรือประดับด้วยไต้ หรือตะเกียงน้ำมันวางเรียงห่างกัน ประมาณ 1-2 คืบ ภายในเรือบรรจุไปด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และขนม ข้าวต้ม ฝ้าย ไหมและเครื่องไทยธรรมต่างๆ อีกมากมายที่พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาซื้อมาร่วมทำบุญ ครั้นพอตกค่ำบรรดาเจ้าของเรือจะจุดไต้ หรือตะเกียงให้สว่าง แล้วนำเรือของตนออกไปกลางแม่น้ำแล้วปล่อยให้เรือไหลไปตามแม่น้ำคล้ายกับการ ลอยกระทง และมีเรือของหนุ่มๆ สาวๆ ที่พากันตีกลองร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในเวลานั้นท้องน้ำก็จะสว่างไสว ไปด้วยไฟระยิบระยับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก
ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธ บาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่นํ้านิมมทานที ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารพะรัตนตรัย และพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาคุณแม่โพสพความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาวิญญาณของ บรรพบุรุษ ประเพณีไหลเรือไฟ หรือ "ไหลเฮือไฟ" ในภาษาอีสานเป็นประเพณีลอยกระทงตามแบบอีสานจะจัดในเทศกาลออกพรรษาของชาว จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงจะ จัดขึ้นใน วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก
หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อ แสดงพระธรรมโปรด พระพุทธมารดาและเป็นความเชื่อว่าถ้าจัดพิธีนี้ขึ้นก็จะเป็นการแสดงความคารวะ ต่อพระยานาคที่สถิตอยู่ตามแม่น้ำใหญ่ให้คุ้มครองรักษาผู้สัญจรไปมาทางน้ำไม่ ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้นโดยพิธีนี้จะจัดขึ้นในแม่น้ำใหญ่ๆ เช่น แม่น้ำมูลแม่น้ำชีในจังหวัดเลยและในแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงคาน เป็นต้น
"เรือไฟ" หรือ "เฮือไฟ" คือเรือที่ทำด้วยท่อนกล้วยและไม้ไผ่ตัวเรือยาวประมาณ20-30เมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ซีกจัดทำโครง เป็นรูปเรือประดับด้วยไต้ หรือตะเกียงน้ำมันวางเรียงห่างกัน ประมาณ 1-2 คืบ ภายในเรือบรรจุไปด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และขนม ข้าวต้ม ฝ้าย ไหมและเครื่องไทยธรรมต่างๆ อีกมากมายที่พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาซื้อมาร่วมทำบุญ ครั้นพอตกค่ำบรรดาเจ้าของเรือจะจุดไต้ หรือตะเกียงให้สว่าง แล้วนำเรือของตนออกไปกลางแม่น้ำแล้วปล่อยให้เรือไหลไปตามแม่น้ำคล้ายกับการ ลอยกระทง และมีเรือของหนุ่มๆ สาวๆ ที่พากันตีกลองร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในเวลานั้นท้องน้ำก็จะสว่างไสว ไปด้วยไฟระยิบระยับสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้ชม ตามริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นอย่างมาก
พิธีและกิจกรรม
ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟ ชาวคุ้มวัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วยต้นกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถลอยน้ำได้ ให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปเจดีย์ วิหาร หงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่าสวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีป โคมไฟอยู่ได้ทนทาน เมื่อถึงวันงาน ภาคกลางวันก็จะมีขบวนแห่ไหลเรือไฟบก ซึ่งนำขึ้นไปวางบนพาหนะล้อเลื่อนต่าง ๆ แล้วเข้าขบวนแห่แหนทุกคุ้มวัดพร้อมกัน
โดยมีการแสดงพื้นบ้านประกอบขบวนอย่างสนุกสนานสวยงาม ในขณะนั้นคณะกรรมการตัดสินก็จะให้คะแนนผู้ที่จัดส่งเรือไฟเข้าประกวดด้วย ขบวนแห่เรือไฟในภาคกลางคืน ก็จะมีการทำพิธีกรรมทางศาสนา เช่น กราบพระ รับศีล ฟังเทศน์ และการกล่าวบูชารอยพระพุทธบาท ต่อจากนั้นจึงนำเรือไฟไปลงน้ำ และเริ่มจุดประทีปโคมไฟแล้วปล่อยให้ล่องไปตามแม่น้ำโขงลงไปทางทิศใต้
ก่อนถึงวันงานไหลเรือไฟ ชาวคุ้มวัดจะช่วยกันประดิษฐ์ตกแต่งเรือไฟด้วยต้นกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถลอยน้ำได้ ให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือมีความยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะประดิษฐ์เป็นรูปเจดีย์ วิหาร หงส์ นาค ครุฑ หรือรูปอย่างใดก็ได้ที่คิดว่าสวยงาม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อความสวยงามและเพื่อให้การจุดประทีป โคมไฟอยู่ได้ทนทาน เมื่อถึงวันงาน ภาคกลางวันก็จะมีขบวนแห่ไหลเรือไฟบก ซึ่งนำขึ้นไปวางบนพาหนะล้อเลื่อนต่าง ๆ แล้วเข้าขบวนแห่แหนทุกคุ้มวัดพร้อมกัน
โดยมีการแสดงพื้นบ้านประกอบขบวนอย่างสนุกสนานสวยงาม ในขณะนั้นคณะกรรมการตัดสินก็จะให้คะแนนผู้ที่จัดส่งเรือไฟเข้าประกวดด้วย ขบวนแห่เรือไฟในภาคกลางคืน ก็จะมีการทำพิธีกรรมทางศาสนา เช่น กราบพระ รับศีล ฟังเทศน์ และการกล่าวบูชารอยพระพุทธบาท ต่อจากนั้นจึงนำเรือไฟไปลงน้ำ และเริ่มจุดประทีปโคมไฟแล้วปล่อยให้ล่องไปตามแม่น้ำโขงลงไปทางทิศใต้
ดานสาวคอย จังหวัดนครพนม
วัฒนธรรมประเพณีชาวนครพนม
การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต
บายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว |
พิธีเหยา พิธีเหยาใหญ่หรือไหว้ครูหมอเหยาใหญ่ เป็นพิธีกรรมที่สำคัญพิธีหนึ่งของชาวกะเลิง ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)