วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ของฝาก
กาละแมทูลใจ เป็นขนมหวานของไทยที่มีมาแต่ดั้งเดิม มีลักษณะเป็นขนมก้อน สีดำเหนียวนุ่ม หวานมัน รสชาติอร่อย ห่อใบตองรีดด้วยเตาถ่านแบบโบราณ กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่อันเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกาละแมธาตุพนม และเป็นขนมของฝากที่ขึ้นชื่อจากอำเภอธาตุพนมมาช้านาน กาละแมทูลใจ เป็นกาละแมที่ผลิตเป็นเจ้าแรก ๆ ของอำเภอธาตุพนมสืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษโดยคุณยายไพฑูรย์ คำป้อง อายุ 72 ปี ได้ผลิตกาละแมในนามกาละแมทูลใจ ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี 2500 จนถึงปัจจุบัน กว่า 50 ปี แล้วที่กาละแมทูลใจยังคงไว้ซึ่งรสชาติความอร่อย เหนียวนุ่ม หวานมัน สะอาด ถูกหลักอนามัย จน อย. รับรองคุณภาพและเป็นของกินของฝากจากธาตุพนมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้กาละแมทูลใจยังช่วยสร้างชื่อ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จาก 1. เป็นขนมของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวธาตุพนม 2. กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยได้จำหน่ายใบตองสด 3. กลุ่มผู้รีดใบตองสำหรับทำกาละแมมีอาชีพมีรายได้ 4. กลุ่มผู้จำหน่ายไม้กลัดมีอาชีพมีรายได้จากการจำหน่ายไม้กลัด 5. แรงงานในชุมชนที่ใช้ในการกวนและการห่อหมกมีงานทำมีรายได้ 6. กลุ่มผู้จักสานงานไม้ไผ่ (ชะลอม) มีรายได้ในการทำบรรจุภัณฑ์ 7. ผู้จำหน่ายและผู้รับไปจำหน่ายมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น กาละแมทูลใจจึงเป็นขนมของฝากที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ชาวธาตุพนมแล้วยังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างดี | |||||||||||
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ปริมาณการผลิตและราคา1. เป็นขนมที่มีสีดำ เหนียวนุ่ม รสชาติหอม หวาน มัน 2. ห่อหมกด้วยใบตองรีดจากเตารีดถ่าน กลัดด้วยไม้กลัดทำจากไม้ไผ่เล็ก ๆ ๆ 3. เป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญาไทยของบรรจุภัณฑ์จากไม้จักรสานด้วยความปราณีต โดยนำมาประยุกต์ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 4. มีการสอดแทรก "ผญา มูนมังทางภูมิปัญญาของชาวอีสาน ในบรรจุภัณฑ์เพื่อเป็นคติเตือนใจในการดำรงชีวิตประจำวัน 5. ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) อย 48-2-00646-2-0001 ผลิตครั้งละ 15 กิโลกรัม/1 กระทะ มีปริมาณการจำหน่ายกิโลกรัมละ 200 บาท ขนาดน้ำหนัก 250 กรัม ราคา 50 บาท ขนาดนำหนัก 500 กรัม ราคา 100 บาท สถานที่จัดจำหน่าย 1. ร้านทูลใจ 49 หมู่ 14 ถนนพนมพนารักษ์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โทร. 0-4254-1220 , 0-1799-0091 2. ร้านดอกไม้โอเล่ 23/45 หมู่ 10 ถนนชยางกูร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม โทร. 0-4252-5248, 0-9940-5816 3. ร้านหมูยอดาวทอง หมู่ 1 ถนนกุศลรัษฏากร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 4. หน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม 5. ร้านพรเทพของฝาก หน้าโรงแรมศรีเทพ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 6. ร้านหมูยอเลิศรส อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 7. ร้านขายของฝาก สถานีขนส่ง จังหวัดนครพนม 8. ร้านศรีโคตรบูร อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม |
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
พระธาตุพนม
ข้อมูลทั่วไป |
นครพนม เมืองนครแห่งอีสาน ดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขงแถบนี้ เดิมทีเป็นที่ตั้งของอาณาจักรศรีโคตรบูร ตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของลำน้ำโขง(ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามประวัติเล่ากันว่าเมื่อพญานันทเสนผู้ครองศรีโคตรบูรสวรรคต เสนาอำมาตย์และประชาชนต่างก็เห็นว่าบ้านเมืองเกิดเภทภัยหลายครั้ง ควรที่จะย้ายไปสร้างเมืองใหม่อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีป่าไม้รวกขึ้นอยู่เป็นดงจึงได้เรียกชื่อเมืองใหม่นี้ว่า “มรุกขนคร” หมายถึงเมืองที่อยู่ในดงไม้รวก มรุกขนครในสมัยพญาสุมิตรธรรมเมื่อ พ.ศ. 500 นั้นรุ่งเรืองมาก มีเมืองขึ้นมากมายและมีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย โดยการก่อพระลานอูบมุงชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแแพงล้อมรอบ มีงานสมโภชใหญ่โต หลังจากพญา สุมิตรธรรมแล้วก็มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ แต่ก็เกิดมีเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรจนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ. 1800 เจ้าศรีโคตรบูรได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขก บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ในพ.ศ. 2057 ผู้ครองเมืองมรุกขนครคือพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศ ราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น “เมืองศรีโคตรบูร” ตรงตามชื่ออาณาจักรดั้งเดิม ในยุคสมัยนี้ยังได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอีกด้วย ต่อมา พ.ศ. 2280 พระธรรมราชา เจ้าเมืองศรีโคตรบูรองค์สุดท้ายได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าขึ้นไปทางเหนือ แล้วให้ชื่อว่า “เมืองนคร” ซึ่งก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะมีการโยกย้ายอีกหลายครั้ง ดังเช่น พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้มีการย้ายเมืองอีกครั้งไปตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางทิศเหนือ 52 กิโลเมตร จนถึงสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2333 เมื่อผู้ครองเมืองนครถึงแก่พิราลัย เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยรัชกาลที่ 1 พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “ นครพนม” ชื่อนครพนมนั้นมีข้อสันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อนและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงได้ใช้คำว่า “ นคร” ส่วนคำว่า “พนม” ก็มาจากพระธาตุพนมปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน บ้างก็ว่ามรุกขนครเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตั้งอยู่ในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อนจึงนำคำว่า “พนม” ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ ส่วนคำว่า “นคร” ก็เป็นการดำรงชื่อเมืองไว้คือเมืองมรุกขนคร นครพนมจึงหมายถึง “ เมืองแห่งภูเขา” นั่นเองจังหวัดนครพนมมีพื้นที่ประมาณ 5,512.668 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครพนม ธาตุพนม นาแก ท่าอุเทน เรณูนคร บ้านแพง ปลาปาก ศรีสงคราม นาหว้า โพนสวรรค์ นาทม และกิ่งอำเภอวังยาง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)